ActiveCampaign มี แทบ ทุกอย่างที่คุณต้องการ
ActiveCampaign ถือว่าดีมาก มีฟีเจอร์ที่ชาญฉลาด ทุกอย่างที่ลองใช้ถือว่าผ่านหมด แต่มีจุดนึงที่ขาดไป แต่ก็แน่นอนว่าทุกบริการที่เคยรีวิวมาทั้งหมด มันมักจะมีซักอย่างนึงที่เพิ่มอีกหน่อยก็จะเพอร์เฟคแล้ว ต่างกันกับของ ActiveCampaign ที่มีข้อบกพร่องในจุดที่สำคัญ และข้อบกพร่องอีกเล็กน้อยอีกไม่กี่อย่าง เดี๋ยวมีรายละเอียดเพิ่มเติมกันต่อข้างล่าง
อีกนัยหนึ่งก็คือ คุณสามารถคาดหวังกับประสบการณ์การใช้งานที่เกือบสมบูรณ์แบบ แถมแพลตฟอร์มก็ออกแบบมาให้เรียนรู้การใช้งานได้ไม่ยาก แน่นอนว่า คุณจะต้องพอรู้การใช้เครื่องมือในระดับเบสิกในการทำการตลาดบนอีเมล/ ออนไลน์ ไม่ว่าคุณจะเลือกแพลตฟอร์มนี้ หรือแพลตฟอร์มไหนก็ตาม เพื่อใช้ประโยชน์จากฟีเจอร์ได้อย่างมีประโยชน์สูงสุด
ใช้เวลาซักพัก กับหาอ่านนิดหน่อย คุณก็สามารถใช้งานได้อย่างโอเคแล้ว แถมบริการยังมีศูนย์ช่วยเหลือขนาดใหญ่ ที่มีทั้งคู่มือการใช้งานและการสอนการใช้ตามขั้นตอนที่คอยช่วยเหลือเช่นกัน
แคมเปญอีเมล, เทมเพลท และการปรับแต่งอีเมลให้เหมาะกับแต่ละบุคคล
คุณสามารถทำได้ และแน่นอนว่าส่งแคมเปญอีเมลได้ (รีวิวนี้คงจะสั้นมากถ้าทำไม่ได้) ยิ่งไปกว่านั้นคุณสามารถทำการตลาดโดยส่งข้อความ SMS ควบคู่ไปด้วยกันได้ แต่อาจจะต้องจ่ายเพิ่มเติมเพื่อใช้บริการดังกล่าว
การทำการตลาดผ่านทางโซเชียลมีเดียก็ทำได้เช่นกันโดยใช้แอปเสริมที่มีมาให้เลือกใช้มากมายแก่ผู้ใช้งานของแพลตฟอร์ม ActiveCampaign
แคมเปญอีเมลมาพร้อมกับความหลากหลาย : อย่างแรกเลยก็คือ คุณจะมีแคมเปญอีเมลแบบมาตรฐาน แค่ดีไซน์อีเมลและส่งออกไปหารายชื่อผู้ติดต่อ จากนั้นคุณสามารถสร้างแคมเปญตามกระบวนการอัตโนมัติได้, สร้างระบบตอบกลับอัตโนมัติ, ทำแคมเปญการทดสอบแยกกลุ่ม (A/B), ส่งอีเมลหลายๆฉบับออกไปทุกครั้งที่มีการอัปเดตฟีด RSS ของคุณ และสร้างแคมเปญตามวันที่สำหรับวันสำคัญต่างๆ เช่น วันเกิด,วันครบรอบ ฯลฯ
ถ้าคุณเพิ่งเคยลองใช้ ActiveCampaign ลองเริ่มใช้แคมเปญ”มาตรฐาน” แบบในรูปดู 1
มีทั้งหมด 125+ เทมเพลทให้เลือกใช้ แต่ก็สามารถดีไซน์ใหม่เองได้หมด หรือจะใช้เทมเพลทแบบมินิมอลก็ทำได้ ตามใจชอบเลย ซึ่งถ้าชอบให้ดีไซน์ตรงกับแบรนด์ของคุณมากที่สุด คุณก็สามารถปรับแต่งลดหรือเพิ่มได้ โดยไม่ต้องเริ่มดีไซน์ใหม่ตั้งแต่แรก
สำหรับตัวเลือก “ออกแบบ” เพิ่มเติม ทุกตัวเลือกจะเป็นแนวเรียบๆและโมเดิร์น ดีไซน์ค่อนข้างเรียบเอามากๆแบบไม่เยอะเกิน แต่ก็ไม่ได้ว้าวอะไรมากมาย แต่ก็นั่นแหละ ยังไงมันก็คืออีเมล คนส่วนมากต้องการอ่าน ไม่ได้ต้องการความว้าวของดีไซน์ตกแต่ง
ในทุกเทมเพลทตอบสนองได้ดีและสามารถเปิดได้บนขนาดหน้าจอมือถือ ซึ่งถือว่าเป็นข้อดีอย่างมาก
แต่ถ้าใครอยากจะไปให้สุด คุณสามารถนำเข้าหรือสร้างเทมเพลทที่กำหนด HTML เองได้ นอกจากนี้ถ้าคุณแคร์เรื่องสไตล์การตกแต่งเป็นอย่างมาก จริงๆ คุณสามารถจ้างคนเพื่อทำเทมเพลทอีเมลให้กับคุณโดยเฉพาะได้.
เทมเพลทของ ActiveCampaign มีมากกว่า 125+ เทมเพลท ซึ่งถือว่ามีให้เลือกเยอะมาก
ตัวสร้าง /ปรับแต่งอีเมลที่แท้จริง ก็คือตัวลากและวางอย่างง่าย ด้วยบล็อกเนื้อหาที่กำหนดไว้แล้วล่วงหน้าที่คุณสามารถเพิ่มในลำดับไหนก็ได้ตามที่คุณต้องการ สามารถปรับแต่งสีได้อย่างง่ายดาย แม้ว่าฟ้อนต์จะมีจำกัด ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเทมเพลทไหนที่คุณเลือก ดังนั้นก็ต้องเลือกดีๆ
คุณสามารถเพิ่มข้อความ,รูปภาพ,ปุ่ม,วิดิโอ,ลิ้งไปยังโซเชียลมีเดียต่างๆ,บล็อกของโค้ด HTML และแม้กระทั่ง ฟีด RSS ไปยังอีเมลของคุณ ซึ่งมีตัวเลือกต่างๆให้มากมาย คุณสามารถทำการแก้ไขอย่างง่าย เช่น การครอปรูปที่คุณอัพโหลดลงไป ในบางเทมเพลทจะมีคลังรูปภาพมาให้ด้วย แต่ทางแพลตฟอร์มไม่ได้มีคลังรูปภาพให้ ดังนั้นการอัพโหลดรูปของคุณเองเพื่อใช้งานจะเป็นการดีที่สุด
ท้ายสุดนี้: คุณสามารถกำหนดความกว้างของการแสดงตัวอย่างอีเมลเพื่อดูว่าบนหน้าจอที่ขนาดแตกต่างกันเนี่ยแบบไหนดี ซึ่งมันดีมากๆ อย่างไรก็ตามการรองรับภาษาที่อ่านจากขวาไปซ้าย ( RTL) เช่น ฮีบรูและอารบิกอาจจะใช้งานไม่ได้ จะใช้งานได้เฉพาะในบล็อกของ HTML หรือเทมเพลท HTML ที่กำหนดเองเท่านั้น ดังนั้นหากคุณต้องการใช้ภาษาเหล่านั้น คุณควรมีความรู้เกี่ยวกับพวกโค้ดบ้าง
แต่นั่นก็ไม่ได้เป็นเหตุผลที่ต้องลาขาดกับแพลตฟอร์มนี้ แต่ก็ถือว่าเป็นข้อเสียหลักๆเลยสำหรับธุรกิจที่ใหญ่ระดับโลกแบบนี้
สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด ตัวแก้ไขยังมีภาษาเวียดนามให้เลือกใช้ได้อีกด้วย
ตัวแก้ไขอีเมลของ ActiveCampaign เรียบง่ายและใช้งานง่ายเช่นกัน
เกร็ดน่ารู้: เมื่อลูกค้าคลิกลิ้งก์ในอีเมล พวกเขาสามารถเพิ่มหรือลบแท็กในข้อมูลติดต่อของตัวเองได้ สามารถเพิ่มลงในรายการหรือนำออกจากรายการได้หมด คุณสามารถเพิ่มลงในระบบการทำงานอัตโนมัติ(automation workflows)ได้ (อ่านเพิ่มเติมด้านล่าง)
เนื้อหาอีเมลสามารถปรับให้เข้ากับแต่ละบุคคลได้ในระดับที่น่าประทับใจ คุณสามารถใช้ตัวแปรต่างๆเพื่อแสดงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้แต่ละรายได้อย่างง่ายดาย ดังนั้นแทนที่จะพูดว่า “สวัสดี คนที่สมัครรับอีเมล” คุณสามารถใช้ชื่อจริงของพวกเขาในคำทักทายของคุณได้ หรืออย่างน้อยก็ใช้ชื่อที่พวกเขากรอกข้อมูลให้คุณ
ตัวแปรอื่นๆที่คุณสามารถนำมาใช้ได้ ได้แก่ ที่อยู่อาศัย หมายเลขโทรศัพท์มือถือ หรือที่อยู่ IP ของผู้ติดต่อ รวมถึงปุ่มแชร์ไปยังโซเชียลมีเดียต่างๆด้วยเพื่อการใช้งานบางอย่าง
นอกจากนี้ยังมีแท็กแสดงตามเงื่อนไข ที่ช่วยให้คุณแสดงหรือซ่อนบล็อกเนื้อหาต่างๆ ขึ้นอยู่กับว่าส่งอีเมลหาผู้ติดต่อคนไหน คุณสามารถแสดงหรือซ่อนเนื้อหาตามแท็กได้ ส่งอีเมลที่มีดีลที่พวกเขาอาจจะสนใจ ผู้ติดต่อสมัครรับอีเมลเมื่อใด สมัครรับอีเมลที่ไหน หรืออยู่ในลิสรายการใด
สามารถทดสอบแยกกลุ่ม A/B ได้ แต่ในรูปแบบที่จำกัดอย่างยิ่ง พูดง่ายๆ ก็คือการทดสอบ A/B ควรจะให้คุณส่งอีเมลเวอร์ชั่นนึงไปยังผู้รับที่ต้องการครึ่งนึง และอีกเวอร์ชั่นส่งไปยังกลุ่มผู้ติดต่ออีกครึ่งหนึ่ง สมมติว่าอีเมลแบบหนึ่งเป็นภาษาเขียนที่เป็นทางการมากกว่า และอีเมลอีกเวอร์ชั่นเป็นแนวเสนอขาย โฆษณาชวนเชื่อ
จากนั้นคุณสามารถเช็คสถิติเพื่อดูได้ว่ากลุ่มไหนทำงานได้ผลดีกว่ากัน เป็นเรื่องง่ายมากๆหรือ ง่ายเหมือนการทำความสะอาดคราบฝังแน่นกันเนี่ย
เมื่อใช้ ActiveCampaign ในการทดสอบแยกกลุ่ม A/B จะทดสอบได้เฉพาะหัวเรื่องและข้อความแสดงตัวอย่างบนอีเมลของคุณเท่านั้น ที่จริงก็หวังว่าจะทดสอบได้มากกว่านี้ แต่ทางบริการไม่มีให้
รายชื่ออีเมล และการแบ่งกลุ่มผู้ติดต่อ
โดยทั่วไปแล้วการนำเข้าและจัดการรายชื่อผู้ติดต่อของคุณนั้นค่อนข้างเรียบง่าย แต่ก็เป็นจุดสำคัญที่ทำให้เห็นข้อบกพร่องสำคัญประการแรกในเซตฟีเจอร์ของ ActiveCampaign คุณสามารถกรอกข้อมูลผู้ติดต่อด้วยตนเอง รวบรวมข้อมูลผู้ติดต่อผ่านแบบฟอร์ม คัดลอกและวางรายชื่อผู้ติดต่อจำนวนมากได้ หรือนำเข้าไฟล์ที่มีรายชื่อผู้ติดต่อได้ตามที่คุณคาดหวัง นั่นเป็นข้อดีและเป็นสิ่งที่ผู้ใช้งานทุกคนคาดหวัง
อย่างไรก็ตาม รูปแบบไฟล์เดียวที่คุณสามารถนำเข้าได้คือสกุล CSV ซึ่งเป็นสกุลไฟล์ที่ดีและใช้ได้ทั่วไป แต่มันก็ยังไม่เพียงพอ บริการการทำการตลาดออนไลน์เกือบทั้งหมดสามารถให้คุณนำเข้าผู้ติดต่อจากหลากหลายสกุลไฟล์ นอกจากสกุลไฟล์ CSV แล้วทุกแพลตฟอร์มที่ให้บริการเหล่านี้ควรจะนำเข้าไฟล์ XLSX (Microsoft Excel) ได้ ซึ่งมันเป็นมาตรฐานที่ค่อนข้างแย่สักหน่อยในวงการนี้
ใช่แหละ นั่นอาจจะดูเหมือนไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร แต่สำหรับคนที่ต้องจัดการรายชื่อผู้ติดต่อจำนวนมากและส่งต่อให้คนในทีม การขาดการสนับสนุนสกุลไฟล์ XLSX นั้นถือเป็นปัญหาใหญ่เอาการ
ยอมรับว่า รีวิวนี้ไม่ได้เพิ่มข้อมูลอื่นๆเพิ่มเติมลงไปในอีเมลที่ใช้ทดสอบเลย
อย่างไรก็ตาม ActiveCampaign เป็นเลิศในการนำเข้าผู้ติดต่อจากบริการของบริษัทอื่นได้ ตัวเลือกดังต่อไปนี้ และมีมากกว่านี้อีก ได้แก่ 123ContactForm, Asana, Basecamp, Eventbrite, Freshbooks, Google Contacts, Google Spreadsheets, PayPal, Zapier และ Zoho CRM คุณยังสามารถนำเข้าผู้ติดต่อจากซอฟต์แวร์ฐานข้อมูล เช่น MySQL และ PostgreSQL ได้อีกด้วย
ในทางเทคนิคแล้ว คุณสามารถอัปโหลดสกุลไฟล์ XLSX ไปยัง Google ไดร์ฟ แปลงสกุลไฟล์บน Google สเปรดชีทเพื่อนำมาใช้ได้ แต่บอกตามตรงเลยว่า มันเหมือนเป็นการเพิ่มงานทำมากขึ้นไปอีก
ActiveCampaign มีตัวเลือกเพิ่มเติมให้มากมาย
รายชื่อผู้ติดต่อนั้นง่ายพอที่จะสร้าง จัดการ และปรับแต่งได้ คุณสามารถใช้รายชื่อผู้ติดต่อเพื่อแยกผู้ติดต่อของคุณออกเป็นกลุ่มๆ เพื่อกำหนดเป้าหมายได้ง่ายและสามารถติดตามได้ว่าใครต้องการอีเมลประเภทใด รายชื่อผู้ติดต่อเหล่านี้ยังสามารถแสดงและจัดเรียงตามชื่อ อีเมล หมายเลขโทรศัพท์มือถือ รวมถึงบัญชีธุรกิจที่อาจแนบมาด้วยได้ และอื่นๆอีกมากมาย
คุณยังสามารถสร้างฟิลด์ที่กำหนดเองเพื่อจัดเก็บข้อมูลประเภทใดก็ได้ที่คุณต้องการเกี่ยวกับผู้ติดต่อ
ต่อไป มาดูกันในส่วนของ Segmentation ( การแบ่งกลุ่มรายชื่อผู้ติดต่อ ) โดยพื้นฐานแล้ว segmentation จะช่วยให้คุณสร้างรายชื่อผู้ติดต่อที่อัปเดทด้วยตนเองเมื่อเงื่อนไขมีการเปลี่ยนแปลง ตัวอย่างเช่น หากคุณมีข้อมูลตำแหน่งที่อยู่ของผู้ติดต่อของคุณ คุณสามารถสร้างรายชื่อผู้ติดต่อในเวียดนามที่มีปฎิสัมพันธ์กับอีเมลที่ส่งไปในปีที่ผ่านมาทั้งหมด จากนั้นเมื่อมีคนใหม่จากประเทศไทยสมัครลงทะเบียนและคลิกลิ้งก์ ลิสรายชื่อผู้ติดต่อนั้นก็จะได้รับการอัปเดท
segmentation นี้สร้างขึ้นมาเป็นฟังก์ชันการค้นหาขั้นสูง คุณสามารถรวบรวมการค้นหาขั้นสูงด้วยพารามิเตอร์ทั้งหมดที่คุณต้องการ และแค่บันทึกการค้นหานั้น จากนั้นคุณก็สามารถเข้าถึงบันทึกการค้นหานั้นได้เมื่อไหร่ก็ตามที่ต้องการ
และคุณยังสามารถค้นหารายชื่อติดต่อของคุณด้วยอะไรก็ได้ (หรืออย่างน้อยก็ข้อมูลใดๆก็ตามที่คุณมีของรายชื่อเหล่านี้) ไม่ว่าจะเป็น ชื่อ แท็กต่างๆ ข้อมูลที่ว่าอยู่ในรายชื่อผู้ติดต่อเฉพาะหรือเปล่า ข้อมูลในการเปิดอีเมลในช่วงสัปดาห์/เดือน/ปีที่ผ่านมา หรือข้อมูลคลิกที่ลิงค์เฉพาะ คุณสามารถผสมผสานและจับคู่พารามิเตอร์เหล่านั้นได้ตามที่คุณต้องการเพื่อค้นหาผู้ติดต่อที่คุณต้องการติดตามหรือติดตามอยู่
ใช้คำสั่งอย่างง่ายๆเพื่อค้นหาผู้ติดต่อประเภทใดประเภทหนึ่ง
นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์การล้างลิสรายการที่ใช้งานได้สะดวก เพื่อให้แน่ใจว่ารายชื่อผู้ติดต่อของคุณมีเฉพาะผู้ที่มีส่วนร่วมกับอีเมลของคุณจริงๆเท่านั้น พูดง่ายๆ ก็คือ คุณมีจำนวนผู้ติดต่อจำนวนจำกัดที่คุณสามารถส่งอีเมลหาได้ในทุกเดือน แล้วทำไมจะต้องเสียเงินไปกับคนที่ไม่ต้องการรับอีเมลเหล่านั้นกันล่ะ?
ด้วยการคลิกง่ายๆ คุณสามารถล้างรายชื่อผู้ติดต่อทั้งหมดที่ยกเลิกการสมัครรับข้อมูลข่าวสารทางอีเมล หรือคนที่ยังไม่ได้ยืนยันการสมัครรับอีเมล รวมถึงคนที่เมื่อคุณส่งอีเมลไปยังบัญชีของพวกเขาแล้วถูกตีกลับทันที น่าแปลกใจ ที่คุณยังสามารถล้างอีเมลที่แอคทีฟได้อยู่ไปด้วย ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเพราะไร แต่ที่แน่ๆมีกรณีแบบนี้เกิดขึ้นแน่นอน
หมายเหตุ: คุณสามารถกำหนดวันที่สำหรับการล้างรายชื่อผู้ติดต่อที่ไม่ได้เปิดอีเมลของคุณมาสักระยะหนึ่งแล้ว เพื่อให้คุณสามารถล้างลิสรายการของคุณได้ แต่ยังคงให้โอกาสคนที่อาจจะเปิดอ่านอีเมลแต่ยังไม่ได้รับอีเมลในตอนนี้
สุดท้ายนี้ เราต้องมาดูกันที่ suppression lists ซึ่ง suppression lists คือลิสรายชื่อที่คุณสามารถใส่รายชื่อผู้ติดต่อ ที่คุณไม่ต้องการส่งอีเมลหาได้ เช่น ผู้ที่ยกเลิกการสมัครรับข้อมูลข่าวสาร เพื่อให้แน่ใจว่าคุณจะไม่ส่งอีเมลหาพวกเขาเหล่านั้นโดยไม่ได้ตั้งใจในอนาคต
คุณสามารถเพิ่มผู้ติดต่อลงในรายการ suppression lists ได้ด้วยตนเอง แต่ผู้ติดต่ออื่นๆ บางส่วนจะถูกเพิ่มโดยอัตโนมัติ รวมถึงคนที่ยกเลิกสมัครรับข้อมูลข่าวสารและคนที่แจ้งว่าอีเมลของคุณเป็นสแปมกับผู้ให้บริการอีเมล
ด้วยเหตุผลที่ชัดเจนของความเป็นส่วนตัวและการปฏิบัติตามกฎหมาย ทาง ActiveCampaign จะไม่บอกคุณว่าผู้ติดต่อคนใดเป็นคนแจ้งว่าอีเมลที่ส่งไปเป็นสแปม ดีที่สุดที่ทำได้คือลืมทุกอย่างเกี่ยวกับผู้ติดต่อเหล่านั้นและพยายามทำให้ผู้ติดต่อที่คุณยังมีอยู่ มีความสุขที่สุดเท่าที่จะทำได้
แลนดิ้งเพจ
ตัวสร้างหน้าแลนดิ้งเพจ ใช้ได้ค่อนข้างดีเลยทีเดียว แต่น่าเสียดาย หน้าแลนดิ้งเพจใช้ได้เฉพาะในแผน Plus ขึ้นไปเท่านั้น แม้ว่าคุณจะสามารถลองใช้ได้ในช่วงทดลองฟรีของ ActiveCampaign .
เทมเพลทสำหรับหน้าแลนดิ้งเพจมี 40 รูปแบบและทั้งหมดก็ดูดีใช้ได้ทีเดียว บางแบบก็มินิมอล ในขณะที่บางแบบก็เป็นแนวสดใสและแฟนซีเว่อร์ๆ บอกตามตรง ส่วนตัวคิดว่าเทมเพลทหน้าแลนดิ้งเพจมีความน่าสนใจมากกว่าเทมเพลทอีเมลเสียอีก
เทมเพลท 40 รูปแบบถือว่าไม่ได้เยอะมากมาย แต่ทุกแบบบอกได้เลยว่าใช้งานได้จริงหมด
แม้ว่าตัวสร้างหน้าแลนดิ้งเพจจะค่อนข้างแตกต่างจากตัวสร้างอีเมล แต่ทั้งคู่ก็ใช้หลักการเดียวกันเป็นหลัก คุณลากและวางบล็อกเนื้อหาต่างๆที่ออกแบบไว้ล่วงหน้า ไปไว้รอบๆหน้านั้นจนกว่าคุณจะพอใจ ดูเหมือนว่าจะมีความยืดหยุ่นในการออกแบบมากในตัวสร้างหน้าแลนดิ้งเพจ และนั่นก็เป็นสิ่งที่ดี
การออกแบบดีไซน์ทั้งหมดตอบสนองได้ดีในมือถือ แต่ดูเหมือนว่าจะไม่รองรับภาษาที่อ่านจากขวาไปซ้าย ค่อนข้างน่าเสียดายที่บริการนี้ไม่เหมาะกับทุกๆคน
หากคุณเคยใช้เครื่องมือสร้างเว็บไซต์อย่าง Wix หรือ Squarespace เครื่องมือการสร้างหน้าแลนดิ้งเพจของ ActiveCampaign ง่ายกว่าพวกนั้นเยอะ
สุดท้ายนี้ ข้อดีอีกซักสองสามอย่างคือ: การไม่จำกัดจำนวนหน้าแลนดิ้งเพจที่คุณสามารถสร้างได้
นอกจากนี้ คุณยังสามารถเชื่อมต่อโดเมนที่กำหนดเองได้ ดังนั้นในหน้าแลนดิ้งเพจจะดูเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของเว็บไซต์ที่มีอยู่แล้วของคุณ การมีหน้าเหล่านี้อยู่ภายใต้โดเมนเดียวกับเว็บไซต์หลักของคุณสามารถช่วยเพิ่มความไว้วางใจและลดความสับสนระหว่างผู้ติดต่อและลูกค้าของคุณ จึงเป็นฟีเจอร์ที่ยอดเยี่ยม
Automation
Automation (เครื่องมือทำงานอัตโนมัติ): เป็นสิ่งที่วิเศษและมีประโยชน์ยังไง? สมมติว่าคุณมีรายชื่อผู้ติดต่อสองรายการ บางส่วนได้ลงทะเบียนสำหรับดีลโปรโมชั่น และคนอื่นๆที่เหลือสมัครเพราะต้องการรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอุตสาหกรรมจะเป็นอย่างไรถ้าคุณต้องการให้ทุกคนที่ต้องการรับข่าวสารเกี่ยวกับอุตสาหกรรมทราบเกี่ยวกับดีลโปรโมชั่นของคุณในลักษณะที่ไม่เป็นการรบกวนจนเกินไป?
คุณสามารถพูดได้ว่า “คลิกที่นี่เพื่อกรอกแบบฟอร์มอื่นเพื่อรับข้อเสนอบริการที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรมอ้อย!” แต่นั่นจะใช้เวลานานและน่ารำคาญสำหรับผู้อ่าน หลายคนคงจะกดออกตั้งแต่อ่านคำว่า “ฟอร์มอื่น” ดังนั้นอย่าหาทำเลย มันมีวิธีที่ดีกว่านี้
เครื่องมือทำงานอัตโนมัติของ ActiveCampaign จะช่วยให้คุณกำหนดกระบวนการที่เกิดขึ้นได้โดยอัตโนมัติ อย่างง่ายดาย ตัวอย่างเช่น คุณอาจมีลิ้งก์ที่ระบุว่า “ต้องการค้นหาข้อเสนอที่ดีที่สุดสำหรับการปลูกมันเทศของคุณใช่หรือไม่? ลงทะเบียนทันที!” และส่วนสุดท้ายนั้นอาจจะใช้เป็นปุ่ม CTA
จากนั้น ลิ้งก์ดังกล่าวจะนำผู้ใช้ไปยังหน้าแลนดิ้งเพจที่ระบุว่า “ขอบคุณ คุณจะได้รับข้อเสนอที่ดีที่สุดในขณะนี้!” ในขณะเดียวกัน ใน ActiveCampaign อีเมลของผู้อ่านจะถูกคัดลอกไปยังรายชื่อผู้ที่ต้องการรับอีเมลเกี่ยวกับดีลโปรโมชั่น ในระหว่างนี้ คุณยังสามารถส่งอีเมลยืนยันอัตโนมัติที่ระบุว่า “ยินดีมากที่มีคุณ! คุณจะได้รับอีเมลฉบับแรกเกี่ยวกับดีลโปรโมชั่นในสัปดาห์หน้า อย่างไรก็ตาม หากคุณสมัครโดยไม่ได้ตั้งใจ นี่คือวิธียกเลิกการสมัครรับข้อมูลข่าวสาร”
ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้โดยที่คุณไม่ต้องยกนิ้วทำอะไรเลย ตราบใดที่คุณมีระบบตั้งค่าในการทำงานอัตโนมัติอยู่ ตัวอย่างอื่นเช่น นี่คือสิ่งที่อีเมล “เตือนให้ซื้อหุ้นคืน” ในตัวแก้ไขเครื่องมือทำงานอัตโนมัติ:
เวิร์กโฟลว์เครื่องมือทำงานอัตโนมัติของ ActiveCampaign คือการลากและวางอย่างง่ายๆ
หากคุณไม่ต้องการออกแบบกระบวนการทำงานตั้งแต่เริ่มต้น ทางแพลตฟอร์มมีเทมเพลทสำหรับกระบวนการอัตโนมัติมากกว่า 400 รูปแบบ รวมถึง : การแจ้งเตือนทางอีเมลของรถเข็นที่ถูกละทิ้ง อีเมลติดตามผลที่กำหนดเป้าหมาย การแท็กลูกค้าที่สนใจในผลิตภัณฑ์เฉพาะ และอื่นๆ อีกมากมาย
ส่วนติดต่อของเครื่องมือการทำงานอัตโนมัตินั้นล้ำหน้าและยืดหยุ่น คุณสามารถแบ่งปันกระบวนการทำงานอัตโนมัติกับผู้ใช้ ActiveCampaign คนอื่นๆ และนำเข้ากระบวนการทำงานของพวกเขาได้เช่นกัน เนื่องจากมีชุมชนขนาดใหญ่พอตัวของ ActiveCampaign ที่สามารถช่วยให้คุณประหยัดเวลาการทำงานได้มาก
ควรสังเกตว่าฟีเจอร์บางอย่าง เช่น ระบบเวิร์กโฟลว์ในการทำงานอัตโนมัติที่เกี่ยวข้องกับการส่งข้อความ SMS ถูกล็อกไว้ในแผนราคาที่แพงกว่า
ฟีเจอร์เพิ่มเติม
มาพูดถึงฟีเจอร์อื่นๆบ้างกันเถอะ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับอีเมลเลย แต่มีประโยชน์มากอย่างเหลือเชื่อ:
อย่างหนึ่งเลยก็คือ มีฟีเจอร์สำหรับการแชทสด กล่าวเลยก็คือ ActiveCampaign มีหน้าต่างสำหรับแชทสดที่คุณสามารถรวมเข้ากับเว็บไซต์ของคุณได้ เพื่อพูดคุยกับคนที่มีโอกาสกลายเป็นลูกค้าของคุณ ในอนาคต ใช้สำหรับฝ่ายขาย ฝ่ายสนับสนุนลูกค้า หรือฝ่ายอื่นๆ ที่ได้ตามที่คุณต้องการ และทั้งหมดนี้น่าจะง่ายพอที่จะติดตามด้วยกล่องจดหมายรวม !
นี่คือฟีเจอร์นึงที่ช่วยให้คุณติดตามทุกการโต้ตอบกับลูกค้าทุกราย ไม่ว่าพวกเขาจะตอบกลับมายังอีเมลใดอีเมลหนึ่งของคุณ (หากคุณอนุญาต) หรือใช้กล่องแชทเพื่อติดต่อกับคุณ
จำเอาไว้ว่า ฟีเจอร์ทั้งสองดังกล่าวอยู่ในหมวด “การสนทนา” ซึ่งเป็นฟีเจอร์เสริมของ ActiveCampaign กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ คุณจะต้องซื้อเพิ่มเอาเองต่างหาก
ในตอนนี้ สิ่งที่คุณไม่ต้องจ่ายเพิ่มคือคลังของส่วนเสริมและการผสานการทำงานจากบุคคลที่สาม มาดูกันว่าจะใส่สิ่งนี้เพิ่มลงไปยังไง? มากเกินไปหรือเปล่า? แอปเสริมกว่า 850+ รายการเยอะเกินไปหรือไม่? อันที่จริงไม่มากเกินไปหรอก ถ้าคุณเจออันที่คุณต้องการ คิดว่านะ
หากคุณใช้บริการออนไลน์ตัวที่ยอดนิยม คุณอาจพบบริการบางอันในมาร์เก็ตเพลสบนแอปของActiveCampaign
แอพเหล่านี้รวมถึงพวกบริการต่าง ๆ เช่น Google Analytics, WordPress, Shopify, WooCommerce, AccessAlly, Airtable, GitLab, Hootsuite และอีกมากมายที่ไม่เคยได้ยินชื่อมาก่อน คนที่สร้างบริการออนไลน์สำหรับธุรกิจพวกนี้กำลังยุ่งหัวหมุนอยู่แน่ๆ