หากคุณต้องการอีเมลระดับมืออาชีพที่มี @yourdomain (และอยากจะตั้งอีเมลด้วยตัวเอง) คู่มือนี้ทำขึ้นมาเพื่อคุณ และที่ดีที่สุดนั่นก็คือ
ขั้นตอนทั้งหมดจะใช้เวลาระหว่าง 5 ถึง 10 นาทีเท่านั้น !
และก่อนที่เราจะเริ่มต้นกันนั้น มีบางสิ่งที่คุณต้องเตรียมพร้อม
สิ่งแรก คุณต้องมีชื่อโดเมน คุณสามารถซื้อชื่อโดเมนได้จากผู้ให้บริการจดทะเบียนชื่อดัง เช่น Namecheap หรือซื้อชื่อโดเมนตรงจากโฮสต์ของคุณ ฉันขอแนะนำวิธีหลังเพราะจะทำให้สามารถติดตั้งได้ง่ายกว่า อีกทั้งชื่อโดเมนที่มาพร้อมแผนบริการโฮสติ้งนั้นมักจะมีให้ใช้ฟรีในปีแรก
อย่างที่สอง คุณจะต้องมีอีเมลหรือเว็บโฮสติ้ง คุณสามารถใช้โฮสติ้งที่มีอีเมลเฉพาะก็ได้ แต่ถ้าให้พูดตามตรงราคาของบริการนี้ก็ค่อนข้างสูง แผนบริการโฮสติ้งส่วนมากมาพร้อมอีเมล ดังนั้นคุณจึงสามารถเป็นเจ้าของอีเมลธุรกิจและเว็บไซต์ของคุณได้ในที่เดียว โดยที่ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมใด ๆ
ฉันจะแสดงวิธีที่จะสามารถใช้ โฮสติ้งและโดเมนให้คุณทราบต่อไปนี้
ฉันได้รวบรวมสามวิธีที่คุณจะสามารถติดตั้งอีเมลธุรกิจไว้ให้ในบทความนี้ นั่นคือ การใช้ hPanel (Hostinger) cPanel หรือ Plesk คุณสามารถเลือกใช้วิธีที่สะดวกสำหรับคุณ แต่
ถ้าหากคุณยังไม่มีโฮสติ้ง ฉันขอแนะนำให้ใช้วิธีแรก Hostinger มีราคาถูกมากเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ให้บริการเจ้าอื่น และยังใช้งานง่ายอีกด้วย1 .
วิธีที่ 1: การติดตั้งอีเมลธุรกิจด้วย Hostinger (hPanel) 1
คุณสามารถใช้แผงควบคุมที่มาพร้อม Hostinger เพื่อติดตั้ง อีเมลธุรกิจในราคาน้อยมากอยู่ที่ $ 2.99 ต่อเดือน 1 ไม่มีบริการโฮสติ้งเจ้าไหนอีกแล้วที่จะมีราคาถูกได้ขนาดนี้ และแม้ว่า hPanel จะไม่มีให้บริการใน ภาษาไทย มันก็ยังใช้งานง่ายกว่าอยู่ดีเมื่อเปรียบเทียบกับ cPanel และ Plesk ซึ่งทำให้มันเป็นทางออกที่สมบูรณ์แบบสำหรับมือใหม่ และนอกจากนี้
ผลการทดสอบของเราพบวา Hostinger ทำคะแนนได้ยอดเยี่ยมทางด้านความเสถียรและประสิทธิภาพ !
ขั้นที่ 1 – เลือกชื่อโดเมนและแผนบริการเว็บโฮสติ้ง
เมื่อใช้ Hostinger คุณจะได้รับสองตัวเลือกเพื่อโฮสต์อีเมลธุรกิจ โดยที่คุณสามารถเลือกใช้หนึ่งในแผนบริการโฮสติ้งพร้อมอีเมล และใช้อีเมลโฮสติ้ง อย่างเดียว
หรือคุณสามารถเลือกใช้แผนบริการโฮสแบบแชร์ที่มีราคาถูกมาก และใช้อีเมลบวกกับโฮสติ้งเว็บไซต์ในราคาย่อมเยาพอ ๆ กัน
สำหรับฉันแล้วนั้นทางเลือกที่สองถือว่าสมเหตุสมผล คุณได้คุณค่าที่คุ้มกับเงินที่เสียไป และคุณสามารถเป็นเจ้าของอีเมลธุรกิจและเว็บไซต์ได้จากที่เดียว แผนบริการสามแบบที่พร้อมใช้งานตามเงื่อนไขดังกล่าวมีดังนี้:
ทั้งแผน Single และ Premium มีราคาที่จับต้องได้ แต่
ถ้าหากคุณต้องการใช้เพียงแค่อีเมลเดียวเท่านั้น แผน Single เป็นตัวเลือกที่ราคาถูกกว่ า และแม้ว่าชื่อโดเมนจะไม่ได้รวมเข้าไปอยู่ในราคาดังกล่าว คุณก็ยังสามารถซื้อชื่อแยกได้ในราคาที่ถูก
และหากคุณต้องใช้อีเมลมากกว่าหนึ่งบัญชี แผน Premium จะถือเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า เพราะคุณจะได้รับที่อยู่อีเมลมากกว่า 100 บัญชี พื้นที่จัดเก็บข้อมูลที่มากกว่า และชื่อโดเมนฟรีเป็นเวลาหนึ่งปี
เมื่อคุณเลือกแผนบริการและชำระค่าบริการแล้วคุณจะสามารถเพิ่มชื่อโดเมนผ่านทาง hPanel ได้
ขั้นที่ 2 – เข้าระบบไปยังแดชบอร์ดเพื่อเข้าใช้งาน hPanel
ในการเข้าใช้งาน hPanel ให้คลิกที่ปุ่ม “Log in” ในเว็บไซต์ของ Hostinger หรือพิมพ์ที่อยู่เว็บไซต์ hpanel.hostinger.com ลงไปในเบราว์เซอร์ของคุณ จากนั้นคุณจะได้พบกับหน้าจอนี้ ซึ่งคุณสามารถใส่ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านที่ได้จาก
Hostinger :
ง่าย ๆ แค่นี้เอง
ขั้นที่ 3 – สร้างที่อยู่อีเมล
หากต้องการสร้างและจัดการอีเมลเพื่อธุรกิจของคุณให้คลิกที่ปุ่ม “Email” ที่อยู่ตรงด้านบนของหน้าจอ หรือตรงเมนูด้านข้าง ทั้งสองปุ่มนี้ใช้งานได้เหมือนกัน จากนั้นให้ไปที่ “Email Account” โดยใช้เมนูที่อยู่ด้านซ้ายของหน้าจอ
ตรงด้านล่างของหน้าจอปัจจุบันนี้ คุณจะพบกับแบบฟอร์มที่ให้คุณสามารถสร้างที่อยู่อีเมลใหม่ได้ ให้คุณพิมพ์ที่อยู่และรหัสผ่าน จากนั้นกด “Create”
ตอนนี้ทุกอย่างเรียบร้อยพร้อมใช้งานแล้ว โดยคุณสามารถตรวจสอบกล่องอีเมลขาเข้าได้โดยไปที่หน้าจอ “Email Accounts” และเลื่อนหน้าจอลงมาจนถึงหัวข้อ “Manage Email Accounts”
ตรงตำแหน่งถัดจากที่อยู่อีเมล คุณจะเห็นปุ่มสีฟ้าที่มีสัญลักษณ์รูปซองจดหมาย ให้คลิกที่นี่เพื่อเข้าใช้งาน เว็บเมลไคลเอ็นต์
ขั้นที่ 4 – การกำหนดค่าที่อยู่อีเมลใหม่ของคุณ
ในหัวข้อเดียวกันที่คุณ “Manage Email Accounts” ให้คุณคลิกปุ่มฟันเฟืองสีดำเพื่อกำหนดค่าที่อยู่อีเมลที่เลือก
คุณสามารถเปลี่ยนรหัสผ่านปัจจุบัน จัดการการป้องกันสแปม/ป้องกันไวรัส และจัดสรรพื้นที่จัดเก็บข้อมูลเพิ่มเติมให้กล่องข้อความขาเข้าของคุณได้ที่หน้าจอป๊อบอัพนี้ โดยทุกฟังก์ชันจัดเรียงกันไว้อย่างเป็นระเบียบในหน้าต่างนี้ที่เดียว:
นอกจากนี้ hPanel ยังมีเครื่องมือการกำหนดค่าอื่น ๆ อีกสามเครื่องมือที่คุณสามารถนำมาใช้เพื่อติดตามอีเมลของคุณได้
คุณสามารถไปที่เครื่องมือเหล่านี้ได้ที่ด้านซ้ายมือของหน้าจอ บริเวณใต้หัวข้อ “Emails”:
เมื่อคลิกที่ “Email Forwarders” คุณจะพบกับหน้าจอนี้ ซึ่งคุณสามารถพิมพ์อีเมลที่คุณต้องการส่งต่อ และอีเมลที่คุณต้องการส่งต่อข้อความที่เหมือนกัน:
คุณสามารถใช้โปรแกรมส่งต่ออีเมลเพื่อสร้างกลุ่มข้อความที่ถูกส่งไปยังอีเมลธุรกิจที่แตกต่างกันได้ (ยกตัวอย่างเช่น ส่งข้อความไปยังแผนกขายและแผนกบริการลูกค้า) หรือคุณสามารถส่งต่ออีเมลทั้งหมดไปยังลูกค้าที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง หากคุณต้องการที่จะใช้ Gmail คุณสามารถพิมพ์ที่อยู่ Gmail ลงในช่องที่สองได้
และอีกหนึ่งคุณสมบัติที่ค่อนข้างจะไม่เหมือนใครของ Hostinger คือเครื่องมือ “Catch-All Emails” โดยคุณสมบัตินี้จะทำให้คุณสามารถรับอีเมลที่ถูกส่งไปยังที่อยู่ที่สะกดผิด และส่งต่ออีเมลเหล่านั้นไปอย่างที่อยู่อีเมลที่ถูกต้องได้
ในการตั้งค่าคุณสมบัตินี้ คุณเพียงต้องเลือกโดเมน จากรายการดรอปดาวน์ และเลือกที่อยู่เพื่อให้ส่งต่อ
ในที่สุด
คุณก็สามารถสร้างข้อความตอบกลับอัตโนมัติด้วยแบบฟอร์มนี้ได้แล้ว :
เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณไม่อยู่ประจำสำนักงานหรือหยุดพักร้อน คุณสามารถใช้เครื่องมือนี้เพื่อแจ้งให้ลูกค้าทราบได้ นอกจากนี้การตั้งค่าแบบกำหนดเองที่อยู่ตรงบริเวณด้านล่างของหน้าจอจะให้คุณสามารถกำหนดเวลาการตอบสนองอัตโนมัติได้ล่วงหน้า ดังนั้นคุณจึงสามารถสร้างข้อความไว้ก่อนล่วงหน้าแล้วลืมมันไปได้เลย
โดยสรุปแล้วนั้น
Hostinger1 มีเครื่องมือเหมือน ๆกับที่คุณจะได้ใช้ใน cPanel หรือ Plesk แต่จะมีให้ในราคาที่ถูกกว่า มันเป็นแผงควบคุมที่ใช้เฉพาะกับโฮสต์นี้เท่านั้น ซึ่งสามารถใช้งานได้อย่างง่ายดาย และคุณก็ไม่จำเป็นต้องคลิกผ่านหลายตัวเลือกเพื่อกำหนดค่าที่อยู่อีเมลของคุณอีกด้วย
วิธีที่ 2: การตั้งค่าอีเมลธุรกิจของคุณใน cPanel
ผู้ให้บริการโฮสติ้งแบบแชร์ส่วนใหญ่จะใช้ cPanel แผงควบคุมนี้มีหน้าตาที่ไม่ได้สวยงามมากนัก แต่มันเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังและสะดวกมากหากคุณได้เรียนรู้วิธีการใช้อย่างถูกต้อง โดยแผงควบคุมนี้มีให้บริการในหลายภาษาซึ่งรวมถึง ภาษาไทย ด้วย
ขั้นที่ 1 – เลือกชื่อโดเมนและแผนบริการเว็บโฮสติ้ง
InterServer1 , GreenGeeks1 , FastComet1 , A2 Hosting1 , และโฮสต์อื่น ๆ อีกมากมายที่มีแผงควบคุม cPanel หากคุณใช้แผนบริการที่มี cPanel อยู่แล้ว คุณสามารถข้ามไปยังขั้นตอนต่อไปได้ ข้อมูลส่วนนี้เป็นการเลือกแผนบริการและชื่อโดเมนสำหรับอีเมลของคุณ
ในบริการโฮสติ้งส่วนใหญ่นั้นจะรวมกันลงทะเบียนโดเมนสำหรับการใช้งานในปีแรกเอาไว้ให้ฟรี แต่สำหรับ InterServer แล้วคุณจะไม่ได้สิทธิพิเศษในส่วนนี้ แต่หากคุณเลือกใช้แผนบริการพื้นฐานแบบแชร์ ทางโฮสต์ จะมีส่วนลดสำหรับชื่อโดเมนให้อย่างพิเศษมาก และคุณยังได้รับพื้นที่จัดเก็บข้อมูลที่ไร้ขีดจํากัด รวมถึงการป้องกันสแปมสำหรับอีเมลของคุณด้วย
GreenGeeks จะมีราคาแพงกว่าเล็กน้อยหลังจากต่ออายุการใช้งาน แต่
แผนการใช้งานขั้นแรกเริ่ม1 ของโฮสต์นี้ได้รวมโดเมนฟรี พื้นที่จัดเก็บข้อมูลไร้ขีดจำกัด และการป้องกันสแปมเอาไว้ให้ ซึ่งถือว่าเป็นชุดคุณสมบัติที่ยอดเยี่ยมสำหรับอีเมลเพื่อธุรกิจ
ตัวอย่างโฮสต์อาจจะมีให้ไม่กี่เจ้า แต่ถ้าหากให้พูดโดยรวมแล้ว แผนบริการเว็บโฮสติ้งระดับพื้นฐานจาก
บริการโฮสติ้งชั้นนำ ก็ให้คุณสมบัติที่มากเกินพอต่อการดำเนินการอีเมลระดับมืออาชีพ คุณสามารถเลือกโฮสต์ที่ชอบ ลงทะเบียน แล้วไปตามขั้นตอนที่สองกันได้เลย
ขั้นที่ 2 – เข้าระบบไปยังแดชบอร์ดเพื่อเข้าใช้งาน cPanel
ในตอนนี้คุณมีโดเมนและโฮสติ้งแล้ว คุณสามารถเข้าใช้งานแผงควบคุม cPanel ตั้งค่าอีเมลธุรกิจของคุณได้
โดยขั้นตอนนี้อาจจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับโฮสต์ที่คุณใช้ แต่กฎทั่วไปคือ คุณจะต้องเข้าระบบไปในหน้าแดชบอร์ด และหาปุ่มที่จะพาคุณเข้าไปยังแผงควบคุม cPanel
ในครั้งนี้ฉันจะแสดงตัวอย่างหน้าจอเข้าระบบของ InterServer:
เมื่อคุณเข้าระบบแล้ว คุณสามารถเลื่อนลงมาอย่างปุ่มหน้าผู้ดูแลระบบ ตรงนี้คุณจะเห็นปุ่มเข้าใช้งาน cPanel:
หากคุณใช้ Host ที่แตกต่างไปจากนี้แล้วหาทางเข้าแผงควบคุมไม่เจอ โปรดอย่ากังวล
ให้คุณเข้าไปที่ฐานความรู้ของทางโฮสต์ และค้นหาหัวข้อ “ วิธีเข้าใช้งาน cPanel” เพื่อดูคำแนะนำอย่างละเอียด
ขั้นที่ 3 – สร้างที่อยู่อีเมล
เมื่อคุณเข้าระบบไปยัง cPanel แล้วคุณควรจะได้เห็นหน้าจอดังต่อไปนี้ อย่างที่ฉันได้บอกไปก่อนหน้าวางแผงควบคุมนี้มีหน้าตาที่ไม่สวยงามเท่าไหร่นัก แต่ขอให้คุณมองข้ามตรงนี้ไปแล้วมาทำงานให้สำเร็จกัน
คลิกที่ “ บัญชีอีเมล ” เพื่อเริ่ม
จากนั้น
ให้คลิกปุ่ม “ สร้าง ” เพื่อสร้างที่อยู่อีเมลแรกของคุณ
ในหน้าจอต่อไป คุณจะต้องพิมพ์ชื่อผู้ใช้อีเมลของคุณ ( เช่น username@yourdomain) และรหัสผ่าน ทั้งนี้คุณสามารถใช้โปรแกรมสร้างรหัสผ่านที่มีให้มากับโฮสต์ หากคุณไม่รู้ว่าจะใช้รหัสผ่านอะไรดี
อีกทั้งระบบจะขอให้คุณจัดสรรปริมาณพื้นที่จัดเก็บข้อมูลมาให้กับอีเมลของคุณ หากคุณไม่ได้ส่งหรือรับสื่อเป็นจำนวนมาก พื้นที่จัดเก็บ 1GB (หรือ 1024MB) ก็ถือว่าพอเพียงสำหรับแต่ละกล่องจดหมาย แต่ถ้าหากคุณใช้แผนบริการที่มีพื้นที่จัดเก็บข้อมูลแบบไร้ขีดจำกัด คุณก็สามารถทำเครื่องหมายลงในกล่องสี่เหลี่ยมที่เขียนว่า “ไม่จำกัด” ได้เลย
ตรงบริเวณด้านล่างของหน้าจอ
คุณจะเห็นตัวเลือกในการรับอีเมลที่มีคำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับการติดตั้งเมลไคลเอ็นต์ ของคุณ คุณควรทำเครื่องหมายถูกในส่วนของตรงนี้เอาไว้ด้วย
นี่คือตัวอย่างของหน้าจอก่อนที่คุณจะกดปุ่ม “สร้าง”:
เพียงแค่นี้เอง!
หากต้องการเข้าดูกล่องข้อความขาเข้า ให้คุณหาชื่ออีเมลในหน้าจอ “ บัญชีอีเมล ” และคลิกที่ปุ่ม “ เข้าดูอีเมล ”:
ขั้นที่ 4 – การกำหนดค่าที่อยู่อีเมลใหม่ของคุณ
เมื่อคุณสร้างอีเมลเพื่อธุรกิจของคุณเรียบร้อยแล้ว
คุณจะสามารถคลิกที่ไอคอน “ จัดการ ” เพื่อเปลี่ยนแปลงรหัสผ่านและปริมาณพื้นที่จัดเก็บข้อมูลที่แบ่งสรรให้แก่สำหรับแต่ละกล่องข้อความ
คุณสามารถคลิกที่ “ เชื่อมต่ออุปกรณ์ ” เพื่อเปลี่ยนแปลงการกำหนดค่าเมลไคลเอ็นต์ ของคุณได้ โดยเมนูนี้จะพาคุณไปยังหน้าจอที่แลดูซับซ้อน:
หากตัวเลือกเหล่านี้ฟังดูยากเกินไปสำหรับคุณก็ไม่เป็นไร สิ่งเดียวที่คุณควรรู้ก็คือ:
โปรโตคอล IMAP จะเก็บข้อมูลอีเมลของคุณไว้ในเซิร์ฟเวอร์ เพื่อที่คุณจะสามารถเข้าถึงอีเมลได้จากทุกอุปกรณ์ นี่คือการตั้งค่าที่อีเมลไคลเอ็นต์ ส่วนใหญ่ใช้กัน
โปรโตคอล POP3 จะดาวน์โหลดอีเมลของคุณไปยังอุปกรณ์ที่คุณใช้ในการเข้าถึงอีเมลนั้น (ยกตัวอย่างเช่น คอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป หรือโทรศัพท์มือถือ) จากนั้น โปรโตคอลจะลบอีเมลออกจากเซิร์ฟเวอร์ คุณสามารถใช้การตั้งค่านี้เพื่อช่วยประหยัดพื้นที่ในเซิร์ฟเวอร์ หรือในเวลาที่คุณต้องการรักษาความปลอดภัยที่มากขึ้นให้กับอีเมลของคุณ
“Over SSL/TLS” เป็นวิธีการเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ที่มีความปลอดภัยมากกว่า คุณควรเลือกใช้โปรโตคอลนี้เสมอหากมีพร้อมให้ใช้งาน
cPanel ยังมีคุณสมบัติบางประการที่เป็นประโยชน์ ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถกำหนดค่าอีเมลธุรกิจได้มากขึ้นไปอีกขั้น ยกตัวอย่างเช่น
หากคุณไม่ชอบเว็บเมล ไคลเอ็นต์ ที่โฮสต์มีให้ คุณก็สามารถส่งต่ออีเมลทั้งหมดของคุณไปยังที่อยู่อีเมลได้
โดยคลิกที่ “ส่งต่อ” ในหน้าจอหลักของ cPanel
จากนั้นไปที่ “เพิ่มที่อยู่เพื่อส่งต่อ” เพื่อส่งต่ออีเมลจากที่อยู่หนึ่ง หรือ “เพิ่มโดเมนเพื่อส่งต่อ” เพื่อส่งต่ออีเมลทั้งหมดที่ส่งไปยังโดเมนของคุณ
เมื่อคุณมาถึงหน้าจอที่ถูกต้องแล้ว ให้คุณพิมพ์ที่อยู่อีเมลที่ต้องการส่งต่อ และที่อยู่ที่ต้องการจะส่งต่อทุกอย่างไปให้ เช่น หากคุณต้องการใช้ Gmail ไคลเอ็นต์ ให้คุณพิมพ์ที่อยู่ Gmail ลงในช่องที่สอง
หากคุณต้องการตั้งการตอบอีเมลแบบอัตโนมัติ ให้คุณกลับไปยังหน้าจอหลักของ cPanel และคลิกที่ “ ตอบอีเมลอัตโนมัติ ”
คลิกที่ “เพิ่มการตอบอีเมลอัตโนมัติ” เพื่อกำหนดวันและเวลาการส่งข้อความอัตโนมัติใหม่ไว้ล่วงหน้า
พิมพ์ที่อยู่อีเมลของคุณและสร้างข้อความที่กำหนดเองให้แก่การตอบกลับอีเมลอัตโนมัติของคุณ เช่น คุณอาจกล่าวว่าสำนักงานของคุณปิดทำการอยู่ในขณะนี้ แต่คุณก็ตอบกลับโดยทันทีหลังจากพ้นวันหยุด (หรือใส่วันที่เฉพาะเจาะจง)
กดปุ่ม “สร้าง” เพื่อเสร็จสิ้นการตั้งข้อความการตอบอีเมลอัตโนมัติ
แม้ว่าจะมีหลายอย่างที่คุณสามารถปรับเปลี่ยนได้โดยใช้ cPanel ในคุณสมบัติของอีเมลที่เราได้ตรวจดูคร่าว ๆ นั้นเป็นคุณสมบัติที่คุณจะได้ใช้มากที่สุดในชีวิตประจำวัน โปรดจำไว้ว่า: ก่อนที่คุณจะสามารถใช้วิธีนี้ในการตั้งค่าและกำหนดค่าอีเมลธุรกิจของคุณได้นั้น คุณจะต้องมีเว็บโฮสติ้งที่ใช้งานแผงควบคุม cPanel ก่อน
วิธีที่ 3: การตั้งค่าอีเมลธุรกิจของคุณใน Plesk
Plesk ไม่ได้เป็นที่นิยมใช้กันเท่า cPanel แต่ฉันคิดว่าแผงควบคุมนี้จัดระเบียบได้ดีกว่าใช้งานได้ง่ายกว่า และเช่นเดียวกับ cPanel ทาง Plesk สามารถรองรับภาษาจำนวนมากอย่างน่าประทับใจ โดยที่ ภาษาไทย ก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วย เรามาดูรายละเอียดของแผงควบคุมตัวนี้ไปพร้อม ๆ กันเลย
ขั้นที่ 1 – เลือกชื่อโดเมนและแผนบริการเว็บโฮสติ้ง
ในการสร้างอีเมลธุรกิจด้วย Plesk คุณจะต้องมีเว็บโฮสติ้งที่ใช้แผงควบคุม Plesk
แต่น่าเสียดาย มีโฮสต์อยู่ไม่มากนักที่ให้บริการแผงควบคุมดังกล่าวในแผนบริการโฮสติ้งแบบแชร์ที่มีราคาถูก อย่างไรก็ตาม Plesk มักจะเป็นบริการที่รวมเอาไว้กับโฮสติ้งสำหรับ Windows (หรือ ASP.NET) ซึ่งมักจะมีราคาที่แพงกว่า
ยกตัวอย่างเช่น คุณสามารถใช้แผงควบคุม Plesk กับแผนบริการโฮสติ้ง ASP.NET ขั้นพื้นฐานของ InterServer พร้อมกับอีเมลและพื้นที่จัดเก็บข้อมูลแบบไม่จำกัด แผนบริการนี้ไม่ได้มีราคาแพงแต่ก็ไม่ได้มีราคาถูกเสียทีเดียว ดังนั้น
ฉันจะไม่แนะนำวิธีนี้ นอกเสียจากว่าคุณจำเป็นต้องใช้โฮสติ้ง Windows สำหรับสร้างเว็บไซต์แบบกำหนดเอง
หากคุณกำลังมองหาวิธีที่มีราคาถูกที่สุดในการโฮสต์อีเมลธุรกิจ คุณอาจจะข้ามวิธีที่สามนี้ไปเลยก็ได้ แต่ถ้าหากว่า
คุณมีแผนบริการโฮสติ้งที่ใช้แผงควบคุม Plesk อยู่แล้ว ( หรือคุณกำลังคิดว่าจะซื้อแผนบริการที่มีลักษณะดังกล่าว ) ให้คุณตามไปดูขั้นตอนต่อไปได้เลย
ขั้นที่ 2 – เข้าระบบไปยังแดชบอร์ดเพื่อเข้าใช้งาน Plesk
หน้าจอแดชบอร์ดของโฮสต์แต่ละเจ้าจะมีหน้าตาที่แตกต่างกันไปเล็กน้อย แต่คุณจะสามารถหาทางเข้าไปใช้แผงควบคุมจากหน้าจอหลักได้ไม่ยาก หากคุณหาทางเข้าใช้งานแผงควบคุมไม่เจอ โปรดเข้าไปดูในฐานความรู้ที่ทางโฮสต์จัดเตรียมให้ โดยไปที่หัวข้อ “วิธีเข้าใช้งาน Plesk” เพื่อดูคำแนะนำอย่างละเอียด
คุณยังสามารถเปิดใช้แผงควบคุม Plesk ได้โดยตรงด้วยการพิมพ์ที่อยู่ดังต่อไปนี้ไปในเบราว์เซอร์ของคุณ:
https://<your domain name or the server IP address>:8443
จากนั้นคุณจะได้พบกับหน้าจอนี้ ซึ่งคุณสามารถใส่ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านที่ได้จากโฮสต์ (โดยปกติจะอยู่ในอีเมลต้อนรับ):
ขั้นที่ 3 – สร้างที่อยู่อีเมล
เมื่อคุณเข้าระบบมายังแผงควบคุม Plesk แล้ว คุณจะเห็นเมนูด้านซ้ายมือของหน้าจอ
ให้คลิกที่ “ เมล ” เพื่อดำเนินการต่อ
ต่อไป ให้คุณเลือก “ สร้างที่อยู่อีเมล ” เพื่อสร้างอีเมล์ธุรกิจใหม่
ในตอนนี้คุณสามารถพิมพ์ที่อยู่อีเมลและรหัสผ่าน จากนั้นจึงจัดสรรพื้นที่จัดเก็บข้อมูลให้กับอีเมลของคุณ หากคุณไม่ได้ส่งหรือรับสื่อเป็นจำนวนมาก พื้นที่จัดเก็บ 1GB (หรือ 1024MB) ก็ถือว่าพอเพียงแล้ว อย่างไรก็ตาม
ปริมาณพื้นที่จัดเก็บที่คุณสามารถใช้ได้นั้นจะขึ้นอยู่กับแผนบริการเว็บโฮสติ้งที่คุณใช้
ก่อนที่คุณจะคลิก “ตกลง” ให้ตรวจดูให้แน่ใจว่าแบบฟอร์มมีหน้าตาตามแบบที่แสดงอยู่นี้:
เมื่อสร้างอีเมลแล้ว
คุณสามารถเข้าไปดูกล่องข้อความได้โดยคลิกที่ไอคอนรูปซองจดหมาย ( ที่หน้าจอ “ เมล ”) ง่ายแค่นี้เอง
ขั้นที่ 4 – การกำหนดค่าที่อยู่อีเมลใหม่ของคุณ
Plesk มีเครื่องมือเพื่อการกำหนดค่าที่เป็นประโยชน์ต่อคุณสามแบบด้วยกัน ซึ่งคุณสามารถใช้เครื่องมือเหล่านี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดให้กับอีเมลเพื่อธุรกิจของคุณ
จากหน้าจอ “ เมล ” ให้คลิกลงบนที่อยู่ที่คุณต้องการกำหนดค่า
ตัวเลือกการกำหนดค่าจะปรากฏขึ้นที่ด้านบนของหน้าจอ :
ตัวเลือกแรกคือการส่งต่ออีเมลทั้งหมดไปยังที่อยู่อื่น หากคุณไม่สะดวกใช้งานเว็บเมลไคลเอ็นต์ที่ได้จากโฮสต์ของคุณก็ไม่เป็นปัญหา คุณสามารถสลับไปใช้การส่งต่ออีเมล และพิมพ์ที่อยู่อีเมล Gmail หรือ Yahoo เข้าไปเพื่อที่คุณจะสามารถอ่านอีเมลทั้งหมดได้จากที่นั่น
ทั้งคุณยังสามารถตั้งนามแฝงอีเมลที่จะส่งต่อเมลไปยังที่อยู่หลัก ยกตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการตั้งที่อยู่อื่นให้เป็นอีเมลสำหรับแผนกการขายและบริการลูกค้าเพื่อธุรกิจของคุณ (แต่คุณตั้งใจที่จะตอบอีเมลเหล่านี้ด้วยตัวเอง) คุณสามารถตั้งค่าได้จากตัวเลือกนี้
ร้านสุดท้าย คุณสามารถตั้งการตอบอีเมล์อัตโนมัติเพื่อแจ้งให้ลูกค้าของคุณทราบในกรณีที่คุณไม่อยู่สำนักงาน คุณเพียงแค่ต้องเปิดใช้งานระบบ “ตอบรับอัตโนมัติ” พิมพ์ข้อความของคุณลงไป และใช้งาน หากคุณต้องการให้ระบบตอบรับอัตโนมัติปิดการใช้งานเองในวันที่คุณกำหนด คุณสามารถทำได้โดยไปยังตัวเลือกที่อยู่ทางด้านล่างของหน้าจอ
ฟังก์ชันเหล่านี้ถือเป็นฟังก์ชันอีเมลที่มีความสำคัญมากที่สุดของ Plesk โดยโฮสต์ของคุณอาจจะมีเว็บเมลไคลเอ็นต์หลายตัวให้กับคุณและ/หรือเครื่องมือป้องกันสแปมด้วยเช่นกัน
ซึ่งคุณสามารถพบกับ คุณสมบัติเหล่านี้ได้ภายใต้แท็บ “ การตั้งค่าเมล ”
ยกตัวอย่างเช่น หากคุณคลิกที่ “เปิดใช้งาน/ปิดใช้งานบริการ” ระบบจะให้คุณสามารถเปิดหรือปิดการป้องกันสแปมให้แก่โดเมนที่เลือกได้
การตั้งค่าอีเมลธุรกิจไม่เคยทำได้ง่าย ( หรือมีราคาถูก ) ขนาดนี้มาก่อน
ในตอนนี้แผนบริการเว็บโฮสติ้งส่วนมากได้ให้บริการโฮสติ้งอีเมลรวมเข้าไว้ด้วยกันการสร้างอีเมลสำหรับมืออาชีพ address @yourdomain จึงทำได้ง่ายอย่างไม่น่าเชื่อ คุณสามารถจัดการทั้งเว็บไซต์และอีเมล์ธุรกิจได้ภายในแดชบอร์ดเดียวกัน ด้วยค่าบริการโฮสติ้งที่มีราคาถูกที่สุด
อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกบริการโฮสติ้งที่มีราคาจับต้องได้หรือเป็นมิตรต่อผู้ใช้งาน
หากคุณกำลังมองหาวิธีการติดตั้งอีเมลธุรกิจที่มีราคาถูกที่สุด ( พร้อมเว็บไซต์ที่มี landing page ที่เรียบง่าย ) Hostinger1 เป็นแบรนด์ที่ดีที่สุดสำหรับคุณ ด้วยไม่เพียงแต่ราคาที่สมเหตุสมผลเพียงเท่านั้น แต่แผงควบคุม hPanel ยังใช้งานได้ค่อนข้างง่าย และเป็นบริการที่มาพร้อมคุณสมบัติต่าง ๆ ที่มีความสำคัญต่ออีเมล
คำถามที่พบบ่อย
Gmail ธุรกิจมีให้บริการฟรีหรือไม่
ไม่ฟรี หากคุณต้องการใช้ Gmail เพื่อธุรกิจและสร้าง Gmail โดยมีชื่อเป็น address @yourdomain คุณจะต้องซื้อแผนบริการ Google Workspace โดยแผนบริการแรกเริ่มจะมีพื้นที่จัดเก็บในระบบคลาวด์ขนาด 30GB รวมถึงคุณสมบัติพิเศษต่าง ๆ เช่น Google Drive, Meet และ Calendar แต่แผนบริการนี้ไม่ได้มีราคาถูก
เพื่อเป็นการบอกให้คุณทราบคร่าว ๆ แผนบริการเริ่มต้นของ Google นั้นมีราคาแพงกว่าแพ็กเกจโฮสติ้งแบบแชร์ของ Hostinger ถึง 6 เท่าด้วยกัน ซึ่งรวมทั้งอีเมลและการโฮสต์เว็บไซต์ รวมถึงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลขนาด 10GB ด้วยเช่นกัน
ที่จริงแล้ว การซื้อโฮสติ้งอีเมลโดยเฉพาะในขณะที่ผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งเจ้าอื่นมอบบริการนี้ให้ฟรี ๆ ถือว่าไม่คุ้มค่าเท่าไหร่นัก ถ้าหาก Hostinger ไม่ได้เหมาะกับความต้องการของคุณมากที่สุด คุณก็สามารถเข้าไปดูรายการ บริการเว็บโฮสติ้งที่ดีที่สุดประจำปี2024 เพื่อศึกษาหาดูตัวเลือกอื่นได้ คุณจะได้พบกับแผนบริการแรกเริ่มหลายรายการที่มีราคาถูกกว่าแผนบริการเริ่มต้นของ Google
ฉันจะสามารถมีที่อยู่อีเมลเพื่อธุรกิจโดยที่ไม่มีเว็บไซต์ได้หรือไม่
ได้แน่นอน คุณสามารถใช้บริการโฮสติ้งอีเมลโดยเฉพาะจากผู้ให้บริการต่าง ๆ อย่างเช่น Hostinger หรือ GoDaddy หรือคุณจะเลือกแผนบริการเว็บโฮสติ้งและใช้งานแค่อีเมลอย่างเดียวก็ได้ ฉันขอแนะนำตัวเลือกที่สอง เพียงเพราะว่าเว็บโฮสติ้งจะให้ประโยชน์ที่คุ้มค่ากับเงินที่เสียไปมากกว่า
อีกทั้ง คุณอาจจะอยากมีเว็บไซต์เพื่อธุรกิจของคุณในอนาคตก็เป็นได้ ถือเป็นการดีที่เลือกใช้แผนบริการเว็บโฮสติ้ง
ผู้ให้บริการโฮสติ้งสำหรับอีเมลเจ้าไหนดีที่สุด
ขึ้นอยู่กับการใช้งานของคุณ หากโดยมากคุณใช้ซอฟต์แวร์ของ Microsoft คุณก็ควรเลือกใช้ Office 365 ไปหาคุณชอบความเรียบง่ายของ Gmail และ Google Drive ดังนั้นตัวเลือกที่ดีที่สุดของคุณก็น่าจะเป็น Google Workspace
แต่ถ้าหากคุณกำลังมองหาวิธีที่ราคาถูกและง่ายดายในการสร้างอีเมลเพื่อธุรกิจ ฉันขอแนะนำ Hostinger ในแผนบริการ Single โฮสติ้งแบบแชร์เดี่ยวที่มาพร้อมอีเมลหนึ่งบัญชี และพื้นที่จัดเก็บข้อมูลที่เหลือเฟือขนาด 30 GB พร้อมกับบริการโฮสติ้งสำหรับเว็บไซต์ด้วย ทั้งหมดนี้ในราคาเพียง $ 2.99 .
อีเมลเพื่อธุรกิจมีราคาเท่าไหร่
ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ คุณสามารถมีอีเมลระดับมืออาชีพ @yourdomain ได้ในราคา กับ Hostinger แต่ผู้ให้บริการโฮสติ้งอีเมลไม่ได้มีราคาถูกทุกราย ยกตัวอย่างเช่น InterServer มีบริการโฮสติ้งพร้อม cPanel ในราคาที่สูงกว่าเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม บริการดังกล่าวมีพื้นที่จัดเก็บข้อมูลและให้บริการอีเมลแก่คุณโดยไม่มีขีดจำกัด
ท้ายที่สุด คุณจะต้องตัดสินใจว่าคุณสมบัติใดสำคัญสำหรับคุณ แต่ก่อนที่คุณจะลงทะเบียนเพื่อใช้แผนบริการระยะยาวนั้น คุณควรจะ เช็คดูข้อเสนอสุดพิเศษในหน้าคูปองของเรา
ฉันจะสามารถใช้อีเมลเพื่อธุรกิจฟรีได้หรือไม่
ก็ไม่เชิง ถึงแม้ว่าคุณจะใช้บริการโฮสติ้งอีเมลแบบฟรี เช่นบริการของ Zoho Mail คุณก็ยังต้องซื้อโดเมนเพื่อติดตั้งอีเมลที่มีชื่อเป็นธุรกิจของคุณอยู่ดี
นอกจากนี้ โฮสต์ที่ให้บริการฟรีส่วนใหญ่จะมีข้อจำกัดที่ค่อนข้างจะน่ารำคาญอยู่มากเลยทีเดียว (ไม่นับโฆษณาที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก) ยกตัวอย่างเช่น คุณจะต้องทำงานกับพื้นที่จัดเก็บข้อมูลที่มีให้น้อยมาก ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยที่คุณจะสามารถบรรลุผลทางธุรกิจด้วยข้อจำกัดดังกล่าว
หากคุณมีงบประมาณน้อย ฉันขอแนะนำให้คุณเลือกใช้บริการโฮสติ้งราคาถูกอย่าง Hostinger ซึ่งบริการดังกล่าวมันทรงพลังแต่ใช้งานง่าย ผู้ให้บริการจะมอบพื้นที่จัดเก็บข้อมูลให้คุณจำนวนมาก และราคาค่าบริการ ต่อเดือนอีกด้วย