เนื้อหาในบทความ
เชื่อมต่อโดเมนของคุณ
ขั้นตอนแรกในการตั้งค่าเว็บไซต์คือ การเชื่อมต่อโดเมนของคุณ ซึ่งหากคุณยังไม่มีโดเมนของตัวเอง คุณสามารถลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ของ Hostinger ได้เลย และหากคุณลงทะเบียนสมัครใช้บริการ แพลนแบบ Premium หรือแพลนแบบ Business คุณจะได้รับโดเมนฟรี ในกรณีตัวอย่างนี้ ผมสมัครลงทะเบียนแผนแบบรายไตรมาสสำหรับโฮสท์ติ้งของผม ผมจึงต้องซื้อโดเมนและถ้าหากคุณลืมที่จะลงทะเบียนโดเมนในตอนที่สมัครใช้บริการ ก็ไม่มีปัญหา! คุณสามารถทำแบบเดียวกับผม นั่นคือเข้าสู่บัญชี Hostinger ของคุณก่อน และคลิกที่ ‘Domain Management’ ที่ด้านบนของหน้าจอ ซึ่งนำคุณไปยังหน้าการจัดการโดเมน จากนั้นคลิก ‘Register Domain’ ขั้นตอนนี้ จะนำคุณมาอยู่ที่หน้าตรวจสอบโดเมน ซึ่งคุณสามารถป้อนชื่อโดเมนที่คุณต้องการใช้ รวมถึงส่วนต่อท้าย เช่น .com, .net ฯลฯ ในกรอบสี่เหลี่ยมและคลิกที่ ‘Check It’ ถ้าโดเมนที่คุณเลือกว่างและสามารถใช้งานได้ คุณจะได้รับราคาสำหรับโดเมนนั้นพร้อมกับราคาสำหรับตัวเลือกส่วนต่อท้ายอื่น ๆ แต่ถ้าชื่อโดเมนที่คุณเลือก มีผู้ใช้งานอยู่แล้ว เพียงแค่คลิกปุ่มย้อนกลับแล้วลองเลือกชื่อใหม่อีกครั้งจนได้ชื่อโดเมนที่คุณต้องการ ให้คลิกที่ ‘Add to Cart’ เพื่อไปยังหน้าจอชำระเงิน Hostinger ให้คุณสามารถลงทะเบียนโดเมนของคุณเองได้ในราคามาตรฐานสำหรับโดเมน .com และราคาถูกเป็นพิเศษ สำหรับโดเมน .online และ .tech วิธีการชำระเงินสำหรับการซื้อโดเมนก็เป็นแบบเดียวกับการซื้อเว็บไซต์โฮสติ้งของคุณ เพียงแค่เลือกวิธีการชำระเงินและดำเนินการได้ทันที หากคุณต้องการดูวิธีการสมัครใช้งานบัญชี สามารถอ่าน วิธีการสมัคร Hostinger ได้ที่นี่ ข้อดีก็คือ ขั้นตอนการเชื่อมต่อโดเมนของคุณนั้นทำได้ง่ายมาก
อย่างไรก็ตาม เมื่อผมลงทะเบียนสำหรับโดเมน ระบบไม่ได้เปิดให้ใช้งานโดยอัตโนมัติทันที
ทำให้ผมต้องแจ้งฝ่ายสนับสนุนเพื่อเปิดการใช้งานโดเมน
โดยผมเลือกลงทะเบียนสำหรับโดเมน .tech แทนที่จะเป็น .com หรือส่วนต่อท้ายโดเมนมาตรฐานอื่น ๆ ซึ่งอาจจะทำให้เป็นส่วนหนึ่งของปัญหา และเมื่อผมได้คุยกับฝ่ายสนับสนุนแล้วการตั้งค่าการโฮสติ้งของผมก็สามารถใช้งานได้ ถ้ารวมเวลาในแชทกับฝ่ายสนับสนุนทางเทคนิค ผมใช้เวลาประมาณ 15 นาทีในการตั้งค่าโดเมนจนเสร็จ
การตั้งค่า WordPress บน Hostinger
Hostinger ถูกออกแบบให้สามารถติดตั้ง WordPress ด้วยตัวติดตั้งแบบคลิกเดียวซึ่งทำให้คุณสามารถตั้งค่าได้ด้วยการคลิกเพียงไม่กี่ครั้งโปรดทราบว่าคุณต้องมีโดเมนของคุณเอง เชื่อมต่อและเปิดใช้งานโดเมนดังกล่าว ก่อนที่คุณจะตั้งค่า WordPress ได้ ขั้นตอนแรกคุณต้องลงชื่อเข้าใช้บัญชี Hostinger ของคุณและคลิกที่ ‘Hosting’ ที่ด้านบนของหน้าเพจ ซึ่งจะแสดงโดเมนของคุณ จากนั้น คลิกที่ปุ่ม ‘Manage’ ข้างๆโดเมนของคุณ จากนั้น, เลื่อนลงไปที่หัวข้อ ‘Website’ แล้วคลิกที่ ‘Auto Installer’ จากนั้น WordPress จะขึ้นมาเป็นชื่อแรกในหัวข้อ ‘Most Popular’. คลิกที่ภาพเพื่อเริ่มกระบวนการติดตั้ง จากนั้น คุณต้องกำหนด URL ที่คุณต้องการติดตั้ง WordPress โดยโดเมนของคุณควรจะเป็นโดเมนเริ่มต้นที่ระบุไว้ ซึ่งหากไม่ใช่ ให้คลิกเลื่อนลงและเลือกโดเมนของคุณ เมื่อได้แล้วคลิกปุ่ม ‘Next’ ตอนนี้ก็มาถึงขั้นตอนที่คุณจะต้องสร้าง ชื่อผู้ใช้, รหัสผ่านและใส่อีเมลผู้ดูแลระบบของคุณ ถัดไป ก็จะเป็นการเลือกภาษาสำหรับเว็บไซต์ของคุณ ซึ่งภาษาเริ่มต้นจะเป็นภาษาอังกฤษ และหากคุณต้องการเปลี่ยนให้เลื่อนลงเพื่อเลือกภาษา และพิมพ์ชื่อเว็บไซต์ของคุณ
ซึ่งคุณสามารถคลิก ‘No’ ในช่อง ‘Overwrite’ คลิก ‘Install’ เพื่อเริ่มการติดตั้ง WordPress กระบวนการติดตั้งจะใช้เวลาไม่นานนัก เมื่อเสร็จแล้วระบบจะนำกลับไปที่หน้าจอ Auto Installer และจะมี ข้อความแจ้งว่าการติดตั้งสำเร็จแล้ว
การติดตั้งนั้นรวดเร็ว แต่ก็ยังมีปัญหา
ข้อดีเพียงข้อเดียวก็คือสามารถติดตั้ง WordPress บนคอมพิวเตอร์ของผมได้อย่างรวดเร็ว และนี่เป็นอย่างเดียวที่เป็นไปอย่างราบรื่น โดยเครื่องมือติดตั้งอัตโนมัติทำให้ผมไม่มีปัญหาและดูเหมือนว่าจะติดตั้งได้ดีอีกด้วยแต่ผมเริ่มพบปัญหาทันที เมื่อผมพยายามเข้าสู่ระบบ ผมกลับเจอข้อผิดพลาด 404 ผมจึงต้องติดต่อฝ่ายสนับสนุนและพวกเขาใช้เวลาประมาณ 20 นาที ย้ายโฮสต์ของผมไปยังเซิร์ฟเวอร์อื่น และทำการติดตั้งใหม่ หลังจากนั้นผมต้องใช้โหมดไม่ระบุตัวตนในเบราว์เซอร์ของผม เพื่อเข้าสู่หน้าของผู้ดูแลระบบ และพบว่ารหัสผ่านที่ผมสร้างขึ้นในตอนตั้งค่าไม่ทำงาน ซึ่งเป็นเรื่องที่อาจเกิดขึ้นได้ ผมจึงส่งคำขอตั้งค่ารหัสผ่านใหม่ จากนั้นก็มีการส่งลิงก์ยืนยันผ่านอีเมลหลายครั้งแต่ก็ยังใช้งานไม่ได้อยู่ดี ผมจึงต้องติดต่อฝ่ายสนับสนุนอีกครั้ง พวกเขาแนะนำและสอนวิธีให้ผมรีเซ็ตผ่าน phpMyAdmin ซึ่งมีประโยชน์และช่วยให้ผมสามารถรีเซ็ตรหัสผ่านได้สำเร็จ
แต่เมื่อผมพยายามเข้าสู่ระบบอีกครั้งโดยใช้โหมดไม่ระบุตัวตน ก็ได้รับข้อความ 404 อีกครั้ง ฝ่ายสนับสนุนซึ่งสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ของผม ได้แนะนำให้ผมเข้าถึงเว็บไซต์ผ่านเครือข่ายอื่น
ผมจึงเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของผมกับฮอตสปอตมือถือ ซึ่งทำให้ผมสามารถเชื่อมต่อกับเว็บไซต์ได้ โดยรวม ผมใช้เวลาเกือบสองชั่วโมงในการทำให้ไซต์ WordPress ใช้งานได้ และเมื่อมันใช้งานได้ก็ไม่มีปัญหาอื่นๆ
WordPress ติดตั้งได้อย่างราบรื่น แต่คุณอาจจะต้องพึ่งการสนับสนุน
ผมยอมรับว่านี่เป็นการติดตั้ง WordPress ที่ท้าทายที่สุดที่ผมเคยพบมา และก็เป็นครั้งแรกที่ผมติดตั้ง WordPress ด้วยการอัปโหลดด้วยตนเองผ่าน FTP ซึ่งถ้าสามารถใช้งาน เครื่องมือในการติดตั้งแบบอัตโนมัติก็จะยอดเยี่ยมมากอย่างไรก็ดี การที่มีฝ่ายบริการสนับสนุนลูกค้าสแตนด์บายรอหากคุณพบปัญหาในการติดตั้งถือเป็นเรื่องที่ดี สิ่งหนึ่งที่ผมพบก็คือ ฝ่ายสนับสนุนทราบขั้นตอนอยู่แล้วทำให้การแก้ไขปัญหาทำได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งหมายความว่านี่เป็นปัญหาที่พบบ่อย และถ้าคุณเจอปัญหาจากการติดตั้ง WordPress อาจเป็นไปได้ว่าคุณ “โชคร้าย” ที่เจอปัญหา เพราะว่ามีเซิร์ฟเวอร์เพียงไม่กี่เครื่องเท่านั้นที่มีปัญหานี้ หากคุณต้องการบริษัทโฮสติ้งที่ให้บริการการติดตั้ง WordPress ล่วงหน้าตั้งแต่ตอนสมัครใช้งาน คุณอาจไม่เจอปัญหาแบบที่ผมพบกับ Hostinger ลองดู Inmotion Hosting หากคุณเลือกที่จะใช้ Hostinger สำหรับเว็บไซต์ WordPress คำแนะนำของผมคือติดต่อฝ่ายสนับสนุนทันทีหากคุณพบปัญหาจากโปรแกรมติดตั้งอัตโนมัติของ WordPress